Last updated: 13 ก.ย. 2566 | 2159 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาษีป้าย
ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายโฆษณาสินค้าต่าง
ป้ายที่ต้องเสียภาษี
ได้แก่ ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
เจ้าของป้าย แต่ในกรณีไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.๑) สำหรับป้ายใด เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ให้ถือว่า ผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคาร หรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่ เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับและให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังบุคคลดังกล่าว
กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการ
ให้เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.๑) ณ ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขต ซึ่งป้ายนั้นติดอยู่ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ป้ายที่ติดตั้งใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากเดือนมีนาคมให้ยื่นแบบภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับตั้งแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วแต่กรณี ให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีโดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้ง หรือแสดงจนถึงวันสิ้นปีและคิดภาษีป้าย เป็นรายงวด งวดละ ๓ เดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี
เจ้าของป้ายผู้ใด
๑. ติดตั้งหรือแสดงป้ายอันต้องเสียภาษีภายหลังเดือนมีนาคม ให้เสียเป็นรายงวด
๒. ติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม และมีพื้นที่ ข้อความภาพ และเครื่องหมายอย่างเดียวกับป้ายเดิมที่ได้เสียภาษีป้ายแล้ว ป้ายชำรุดไม่ต้องชำระเฉพาะปีที่ติดตั้ง
๓. เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีป้ายแล้ว อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่ม ป้ายที่เพิ่มข้อความชำระตามประเภทป้ายเฉพาะส่วนที่เพิ่มป้ายที่ลดขนาดไม่ต้องคืนเงินภาษีในส่วนที่ลด ถ้าเปลี่ยนขนาดต้องชำระใหม่
ฐานภาษีและอัตราภาษี
ฐานภาษี ให้คิดจากเนื้อที่ของป้าย กว้าง x ยาว และอัตราภาษีให้คิดจากประเภทของป้าย เช่น เป็นอักษรไทย หรือต่างประเทศ หรือรูปภาพ
ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้
การคำนวณพื้นที่ป้ายให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดเป็นขอบเขตของป้าย
ป้ายที่ไม่มีของเขตกำหนดได้
ให้ถือเอาตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย ที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขต สำหรับกำหนดส่วนที่กว้างที่สุดและยาวที่สุด แล้วคำนวณตามตารางเซนติเมตร
คำนวณพื้นที่เป็นตารางเซนติเมตร
เศษของ ๕๐๐ ตารางเซนติเมตร ถ้าเกินครึ่งให้นับเป็น ๕๐๐ ตารางเซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าปัดทิ้ง
การชำระภาษี
ผู้รับประเมินได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี (ภ.ป.๓) ให้ชำระเงินภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งกาประเมิน โดยชำระภาษีได้ที่ สำนักงานเขตซึ่งป้ายนั้นตั้งอยู่ การชำระภาษีป้ายจะกระทำโดยส่งธนาณัติหรือตั๋วแลกเงินของธนาคาร ที่สั่งจ่ายแก่กรุงเทพมหานครก็ได้ โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและให้ถือว่าวันที่ได้ทำการส่งดังกล่าวเป็นวันชำระภาษีป้าย หรือชำระผ่านทางธนาคารกรุงไทยเป็นการรับชำระภาษีกรณีปกติไม่มีเงินเพิ่มและไม่เกินวันที่กำหนดไว้ในใบนำการชำระภาษีกรุงเทพมหานคร
ขั้นตอนการยื่นเสียภาษี
ให้ผู้มีหน้าที่ภาษีป้ายสามารถขอรับแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.๑) ได้ที่ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขต โดยกรอกรายการในแบบ ภ.ป.๑ ตามความเป็นจริงให้ครบถ้วน ลงลายมือชื่อของตนพร้อมวัน เดือน ปี ส่งคืนพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ป้ายนั้นได้ติดตั้ง หรือแสดงไว้ ทั้งนี้จะนำส่งด้วยตนเอง มอบหมายให้ผู้อื่นไปส่งแทนหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
๑. ขอรับแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.๑)
๒. กรอกรายการในแบบ ภ.ป.๑ ตามความเป็นจริงให้ครบถ้วน
๓. ลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี ส่งคืนพนักงานเจ้าหน้าที่
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบ
กรณีป้ายใหม่ ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษี พร้อมสำเนาหลักฐาน และลงลายมือชื่อรับรอง ความถูกต้อง ได้แก่
๑. บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน
๒. ใบทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์
๓. ใบอนุญาตติดตั้งป้าย หรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย (ถ้ามี)
๔. หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)
๕. ใบมอบอำนาจกรณีให้ผู้อื่นทำการแทน
๖. อื่น ๆ
ขั้นตอนการยื่นแบบชำระภาษีป้าย
๑. การยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีป้าย (ภ.ป.๑)
ผู้มีหน้าที่ที่ต้องเสียภาษีป้าย ต้องมากรอกแบบแสดงรายการเสียภาษีต่อเจ้าพนักงานประเมิน ณ ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตที่ที่ป้ายตั้งอยู่ โดยจะต้องยื่นแบบเพิ่มขอประเมินภาษีภายในเดือนมีนาคม ของทุกปีหรือแสดงรายการภายใน ๑๕ วันนับแต่วันติดตั้งป้าย
๒. การตรวจสอบ และรับแบบยื่น (ภ.ป.๑)
เจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานเขตรับแบบยื่น (ภ.ป.๑) จากประชาชนทำการตรวจสอบหลักฐานทั้งหมด
๓. การแจ้งประเมินภาษี
เมื่อเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ๒ กรณี ดังนี้
๓.๑ กรณีชำระภาษีป้ายในวันยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย
๓.๒ ไม่ชำระในวันยื่นแบบพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งประเมิน ภ.ป.๓
๔. การชำระเงินค่าภาษี
สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
๔.๑ การชำระค่าภาษีทั้งหมดภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องชำระภายใน ๑๕ วันนับแต่วันรับหนังสือแจ้งการประเมิน ต้องมาชำระเงินที่ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต หรือชำระที่กองการเงิน ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) โดยสามารถชำระเงินค่าภาษีทั้งหมดด้วยเงินสด เช็ค หรือธนาณัติโดยวันที่จ่ายเช็ค วันที่โอนเงินทางธนาณัติจะถือเป็นวันชำระเงินโดยไม่มีการคิดค่าเพิ่ม
๔.๒ การชำระค่าภาษีผ่านธนาคารกรุงไทย
ขั้นตอนกรณีชำระที่ธนาคารกรุงไทย
๑. เจ้าพนักงานแจ้งประเมินค่าภาษีและออกใบแจ้งหนี้ให้ผู้เสียภาษี
๒. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีรับใบแจ้งหนี้ค่าภาษี
๓. นำใบแจ้งหนี้ค่าภาษีไปติดต่อชำระเงินที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ รอรับใบเสร็จเก็บไว้เป็นหลักฐาน
๔.๓ การชำระภาษีผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย
สำหรับตู้ ATM ที่มีช่องอ่านบาร์โค๊ด
สำหรับตู้ ATM ธรรมดา
๑. เลือกช่องบริการอื่น ๆ
๒. เลือกประเภทบริการชำระด้วยบาร์โค๊ด
๓. สแกนใบนำชำระภาษี
๔. ดำเนินการตามขั้นตอนที่ตู้ ATM ระบุ
๑. เลือกชำระค่าบริการ
๒. ใส่รหัสของกรุงเทพมหานคร ๙๒๙๙
๓. ดำเนินการตามขั้นตอนที่ตู้ ATM ระบุ
๔.๔. การชำระภาษีผ่านทาง Internet
๑. สมัคร KTB Online กรณีบุคคลธรรมดา และ KTB Corporate Online กรณีนิติบุคคลที่ www.ktb.co.th
๒. ลงทะเบียนใช้บริการกรุงเทพมหานครที่ http://epay.bangkok.go.th เพื่อขอ Username และ Password
๓. เลือกชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทยออนไลน์ และใส่ Username / Password ของธนาคารกรุงไทยที่สมัครไว้ แล้วเลือกบัญชีที่ประสงค์จะให้หักเงิน
หมายเหตุ.-
เฉพาะการชำระภาษีประจำปีภายในกำหนดเวลา/ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมการชำระภาษีรายการละ ๑๐ บาท
ข้อมูลจาก. สำนักงานเขตดินแดง
....
ร้านป้ายอุดร,ร้านทำป้ายอุดร,รับทำป้ายอุดร,ป้ายอุดร,อักษรโลหะอุดร,อักษรพลาสวูดอุดร,ป้ายอุดรธานี,
ป้ายหนองบัวลำภู,ป้ายเมืองเลย,ป้ายหนองคาย,ป้ายบึงกาฬ,ป้ายสกลนคร,ป้ายนครพนม,ป้ายกาฬาสินธุ์,ป้าย,ร้านสติ๊กเกอร์อุดร
www.udpai.co.th
www.udpai.net
www.ร้านป้ายอุดร.com
https://www.facebook.com/udpai99
28 ส.ค. 2566